ยาแก้ปวดฟัน

     เมื่อคุณมีอาการปวดฟันจนกวนใจคุณอย่างมาก วิธีการแรกคือให้ไปพบทันตแพทย์เพื่อวินิจฉัยว่าสาเหตุของอาการปวดฟันนั้นมาจากอะไร แล้วจะรักษาได้อย่างไร แต่ถ้ายังไปไม่ถึงทันตแพทย์ คุณเองก็สามารถบรรเทาอาการปวดได้ที่บ้าน 

สาเหตุทั่วไปของอาการปวดฟัน

images.thaiza
roproo

     เราสามารถพิจารณาจากอาการปวดฟันและบอกได้คร่าวๆ ว่า อาการปวดเสียดแทงหรือปวดตื้อๆ นั้นอาจเกิดจากฟันผุอ อาการปวดตุ๊บๆ ตลอดเวลาอาจหมายถึงมีการติดเชื้อหรือมีฝีที่เหงือก บางครั้งอาการปวดฟันก็สามารถเกิดจากไซนัสอักเสบ จากการที่มีน้ำมูกสะสมที่ไซนัสและเกิดแรงกดไปที่ฟันบนของคุณได้ โรคเหงือกอักเสบก็เป็นสาเหตุของอาการปวดที่บริเวณรอบๆ ฟันและเหงือกได้ด้วย ส่วนอาการปวดฟันในเด็กอาจเกิดขึ้นในระหว่างที่ฟันน้ำนมจะหลุดออก กรณีนี้ไม่จำเป็นต้องไปพบทันตแพทย์ โดยผู้ปกครองอาจให้เด็กรับประทานของเย็น เช่น ไอศกรีม น้ำแข็งใส เพื่อให้ความเย็นช่วยบรรเทาอาการปวด อีกทางเลือกหนึ่งเพื่อบรรเทาอาการปวดฟันทั้งของผู้ใหญ่และเด็ก คือ รับประทานยาแก้ปวดฟัน ซึ่งมีหลายตัวยา ดังนี้

ยาแก้ปวดฟัน 2 กลุ่ม

     ยาที่ใช้สำหรับบรรเทาอาการปวดฟัน แบ่งออกใหญ่ๆ ได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มยาบรรเทาอาการปวด กับกลุ่มยาชาเฉพาะที่ ตัวอย่างชื่อยาแก้ปวดฟันแต่ละกลุ่มได้แก่

static.wixstatic
thaihealth
  1. ยาบรรเทาอาการปวด ได้แก่ ยากลุ่มบรรเทาอาการปวดทั่วไป เช่น พาราเซตามอล (Paracetamol) หรือยาในกลุ่มเอนเซด (NSAIDs-ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์) เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)
sukkaphap-d
  1. ยาชาเฉพาะที่ ได้แก่ ลิโดเคน (lidocaine) เบนโซเคน (Benzocaine) หรือน้ำมันจากสมุนไพรที่มีฤทธิ์เป็นยาชา เช่น น้ำมันกานพลู หรือยูจีนอลออยล์ (Eugenol)

     ผู้ป่วยสามารถเลือกใช้ยาในกลุ่มไหนก็ได้เพื่อบรรเทาอาการปวด สำหรับเด็ก ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้ยา แนะนำให้เริ่มจากพาราเซตามอลเพื่อบรรเทาอาการก่อน

ยาแก้ปวดฟันมียาอะไรบ้าง แต่ละตัวมีวิธีใช้อย่างไร?

     ยาที่มักนำมาใช้เป็นยาแก้ปวดฟัน มีดังต่อไปนี้

  • พาราเซตามอล เป็นยาในกลุ่มยาแก้ปวดลดไข้ มีสรรพคุณแก้ปวด ลดไข้ และบรรเทาอาการอักเสบ เหมาะสำหรับอาการปวดฟันระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง ขนาดการใช้ยาได้แก่
    • ผู้ใหญ่ รับประทานขนาด 500-1000 มิลลิกรัม
    • เด็กอายุ 6-8 ปี รับประทานขนาด 250 มิลลิกรัม
    • เด็กอายุ 8-10 ปี รับประทานขนาด 375 มิลลิกรัม
    • เด็กอายุ 10-12 ปี รับประทานขนาด 500 มิลลิกรัม
    • เด็กอายุ 12-16 ปีรับประทานขนาด 500-750 มิลลิกรัม

     สามารถรับประทานยาพาราเซตามอลซ้ำได้ทุก 4-6 ชั่วโมง แต่ในผู้ใหญ่ หากใช้ยาเม็ดขนาด 500 มิลลิกรัม ไม่ควรรับประทานเกิน 8 เม็ด/วัน ส่วนในเด็กไม่ควรรับประทานเกิน 4 ครั้ง/วัน

  • ไอบูโพรเฟน เป็นยาในกลุ่มเอนเซด (NSAIDs-ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์) มีฤทธิ์บรรเทาอาการปวด ลดการอักเสบ และลดไข้ เหมาะสำหรับบรรเทาอาการปวดฟันระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง ผู้ใหญ่ควรรับประทานขนาด 400-800 มิลลิกรัม วันละ 3-4 ครั้ง ไม่ควรทานเกิน 3,200 มิลลิกรัม/วัน และควรรับประทานยาหลังอาหาร เพื่อลดการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร
  • ลิโดเคนและเบนโซเคน เป็นยาในกลุ่มยาชา มีวางจำหน่ายในรูปแบบยาทาเฉพาะที่ เช่น ยาแก้ปวดฟันยี่ห้อ M.16 ซึ่งมีส่วนผสมของการบูรและลิโดเคน วิธีการใช้คือใช้ไม้พันสำลี หรือคีมคีบสำลี ชุบตัวยา แล้วทาบริเวณที่มีอาการปวดฟัน หรืออุดสำลีที่ชุบยาลงบริเวณที่มีอาการปวด
  • น้ำมันกานพลู มีฤทธิ์บรรเทาอาการปวด บรรเทาอาการอักเสบ ต้านเชื้อแบคทีเรีย และเป็นยาชาเฉพาะที่ สามารถใช้น้ำมันกานพลูเพื่อลดอาการปวดฟันชั่วคราวได้ โดยใช้วิธีเดียวกันกับลิโดเคน หรือเบนโซเคน

     นอกจากการใช้ยาเหล่านี้แก้ปวดฟันแล้ว ยังมีวิธีอื่นที่สามารถช่วยลดอาการปวดได้ เช่น ประคบเย็นเพื่อลดอาการบวม หลีกเลี่ยงการเคี้ยวข้างที่ปวด เป็นต้น

วดฟัน…ควรใช้ยาปฏิชีวนะหรือไม่?

     การใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยที่มีอาการปวดฟัน จะใช้เฉพาะกรณีที่ปวดฟันจากการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น และจะไม่ใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาหากอาการปวดที่เกิดขึ้นเกิดจากการอักเสบหรือระบบประสาทของตัวฟัน ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้ใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อบรรเทาอาการปวดเอง ต้องมาจากทันตแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าอาการปวดนั้นเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียจริงๆ และสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะให้

วิธีการแก้อาการปวดฟันระยะยาว

     ถ้าคุณรู้สึกว่าฟันหรือเหงือกเริ่มปวดอีกครั้ง การใช้ยาแก้ปวดจะมีผลเฉพาะช่วงที่คุณยังไม่ได้ไปพบทันตแพทย์เท่านั้น และคุณก็ไม่ควรรอนานกว่าจะไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจดูและรักษาอาการ เพราะถ้าทิ้งไว้นานจะยิ่งทำให้สุขภาพฟันของคุณแย่ลง เมื่อรักษาฟันของคุณให้หายปวดแล้ว คุณก็ควรใส่ใจดูแลฟันของตัวเองให้สุขภาพดีอยู่เสมอจะได้ไม่กลับมาปวดฟันอีก โดยการแปรงฟันเป็นประจำ 2 ครั้งต่อวันเพื่อช่วยทำความสะอาดปากของคุณได้อย่างหมดจด ลดการสะสมของแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของฟันผุที่ทำให้คุณปวดฟัน จากนั้นก็ให้ขัดฟันวันละครั้งและไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากทุกๆ 6 เดือนเพื่อเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพปากและฟันของคุณ

*************************************************************************************************************************************************************************

หมั่นเช็คสภาพช่องปากและฟันด้วยนะคะ

ด้วยความปรารถนาดีจาก คลินิกทันตกรรมโยซึบะ(❁´◡`❁)

เครดิต honestdocs colgate

>ปรึกษาทันตแพทย์ ติดต่อสอบถามได้ที่นี่

ปรึกษาทันตแพทย์ ติดต่อสอบถามได้ที่นี่