Inlay / Onlay

「inlay」の画像検索結果
deardoctor

     การอุดฟันแบบ inlay และ onlay เป็นการอุดฟันที่มีความคล้ายคลึงกับการอุดฟันโดยทั่วไป แต่เนื้อที่ที่จำเป็นต้องได้รับการอุดจะมีขนาดใหญ่มากกว่าที่จะอุดฟันแบบธรรมดา โดยทันตแพทย์จะสั่งทำวัสดุอุดฟันขึ้นเป็นชิ้นงานภายนอกช่องปากกับทางแลป ซึ่งจะมีขนาดพอดีกับโพรงฟันที่เตรียมไว้ ทำให้สามารถถอดใส่ และลองวัสดุอุดฟันได้ ทำให้สามารถทดสอบความแนบสนิทของวัสดุอุดฟันกับผนัง และขอบของโพรงฟันที่กรอเตรียมไว้ก่อนที่จะทำการติดด้วยซีเมนต์ยึดต่อไป การอุดแบบ inlays หรือ onlay ต่างกันตรงที่การอุดฟันแบบ inlays เป็นการอุดฟันด้านในของบริเวณฟันด้านนั้น ในขณะที่ onlay จะมีวิธีการคล้ายคลึงกับการทำ เพียงแต่จะมีพื้นที่ในการอุดมากกว่า โดยจะครอบคลุมหลายด้านและมุมของฟัน วัสดุที่นำมาใช้ทำ inlay และ onlay นั้น มีทั้งโลหะพอร์ซเลน ทอง และ เรซิน คอมโพสิต

ข้อดีของการอุดฟันแบบ inlay และ onlay

alsawaimedicalcenter
  1. ให้ความสวยงาม มีสีใกล้เคียงฟันธรรมชาติ
  2. มีความแข็งแรงกว่าการอุดฟันโดยตรง
  3. เป็นอีกทางเลือกแทนการครอบฟันในกรณีที่ฟันมีปัญหาไม่มากนัก
  4. ลดอัตราการเกิดการหดตัวของวัสดุอุดหลังการฉายแสง ลดอาการเสียวฟันภายหลังการบูรณะฟันลงหรืออาจไม่เกิดเลย
  5. มีอายุการใช้งานนาน
  6. กรณีที่ต้องมีจำนวนซี่ที่ต้องการบูรณะหลายซี่หรือมีขนาดใหญ่ สามารถเตรียมวัสดุบูรณะพร้อมกันภายนอกช่องปาก จึงลดเวลาในการรักษาลง
  7. สามารถขัดแต่งวัสดุได้ภายนอกช่องปาก จึงสามารถป้องกันความร้อนหรืออันตรายจากการกรอแต่งวัสดุในช่องปากได้

ขั้นตอนการรักษา

thairath

ตรวจวินิจฉัยและการเตรียมฟัน

  1. ฉีดยาชาบริเวณฟันซี่ที่จะรักษา
  2. กรอฟันให้มีรูปร่างที่เหมาะสม
  3. จดบันทึก สี ขนาด รูปร่างของฟันที่ต้องการ
  4. พิมพ์ปากเพื่อทำแบบจำลอง
  5. ส่งแบบจำลองและรายละเอียดทั้งหมดไปยังห้องแล็บเพื่อทำ Inlays หรือ Onlays
  6. ทันตแพทย์จะทำการอุดฟันแบบชั่วคราวให้แก่ผู้ป่วยสำหรับใช้งาน

ขั้นตอนการติด Inlays หรือ Onlays

  1. การรื้อวัสดุอุดแบบชั่วคราวออกการติดยึด Inlays หรือ Onlays บนฟัน
  2. การตรวจเช็คและการปรับแต่งให้มีความเหมาะสมที่สุด

ขั้นตอนการดูแลรักษา

         การทำ Inlays หรือ Onlays นั้นมีความคล้ายคลึงกับการอุดฟันโดยทั่วไป เพียงแต่วัสดุที่ใช้ในการทำ Inlays และ Onlays นั้นจะมีความแข็งแรงและทนทานมากกว่าวัสดุที่ใช้ในการอุดฟันและการรักษาด้วยวิธีนี้มีโอกาสจะก่อให้เกิดอาการเสียวฟันได้น้อยมาก การดูแลรักษาหลังการทำ Inlays และ Onlays

  • ควรทำความสะอาดด้วยการแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง การแปรงฟันหลัง รับประทานอาหารเป็นการเริ่มวินัยที่ดีในการดูแลสุขภาพปากและฟันซึ่งเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติอย่างยิ่ง
  • ควรทำความสะอาดด้วยไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 1 – 2 ครั้ง
  • ควรพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือน

  ( หมายเหตุ :  “ผลลัพธ์อาจเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละบุคคล” )

***************************************************************************************************************************************************************************************************************************

หมั่นเช็คสภาพช่องปากและฟันด้วยนะคะ

ด้วยความปรารถนาดีจาก คลินิกทันตกรรมโยซึบะ(❁´◡`❁)

เครดิต dentalimageclinic, vertexclinic

>ปรึกษาทันตแพทย์ ติดต่อสอบถามได้ที่นี่

ปรึกษาทันตแพทย์ ติดต่อสอบถามได้ที่นี่